 |
|
กุยช่าย
เสน่ห์กุยช่ายอยู่ที่กลิ่น
แต่คุณค่าทางอาหารอยู่ที่สีเขียวเข้มที่ชี้จะ ๆ
ว่ากุยช่ายอุดมสารอาหาร ทั้งเบต้า-แคโรทีนที่ช่วยป้องกันมะเร็ง
เหล็กที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือกแดง...ดอกกุยช่ายอาจด้อยค่ากว่าใบ
แต่มีของดีที่กากใยอาหารช่วยให้ของเสียที่ต้องระบายออกจากร่างกาย
เคลื่อนย้ายได้สะดวก
ลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ...ได้กลิ่นโชยมาเมื่อไร
อย่าปล่อยให้กุยช่ายหลุดมือ
|
|
|
|
 |
|
คึ่นช่าย
คึ่นช่ายเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องไต
เพราะมีโซเดียมน้อย กินเท่าไรก็ปลอดภัยต่อไต คึ่นช่ายมีสารพิเศษที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
ช่วยลดความดันได้ กินสด ๆ ร่างกายได้รับวิตามินซี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
เบต้า-แคโรทีนแท้สดจากคึ่นช่ายผัด ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และโรคหัวใจขาดเลือด
รวมทั้งช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารช่วยให้เบต้า-แคโรทีนทำงานได้ดีขึ้น
|
|
|
|
 |
|
บวบ
สะอาดผิวใช้ใยบวบขัดผิว
ร่างกายภายในสะอาด กินบวบเนื้อผลบวบที่กินเ็ป็นผักมีแร่ธาตุมาก วิตามินน้อย
เนื้อบวบสะอาด ดูสะอาด เขียวใส หวานนิด ๆ ตามธรรมชาติ และไม่ค่อยปนเปื้อนด้วยยาฆ่าแมลง
เพราะบวบไม่ค่อยมีแมลงรบกวน บวบต้มจิ้มน้ำพริกอร่อยได้ด้วยการต้มทั้งเปลือก
ถ้าเป็นบวบเหลี่ยมก็ปาดเหลี่ยมลบคมออกแล้วต้ม เปลือกบวบจะช่วยกันไม่ให้สารอาหารในลูกบวบเสียไปในการต้ม
|
|
|
|
 |
|
ผักกระเฉด
ผักกระเฉดยำเ็ป็นอาหารของคออาหารรสจัด
สังเกตให้ดี ยำผักกระเฉดนี้ปรุงจากผักกระเฉดลวก ทำให้ยังมีคุณค่าอาหารอยู่มาก
วิตามินซีที่ช่วยให้เนื้อเยื่อในร่างกายแข็งแรงเสียไปมากกว่าเพื่อนเมื่อลวกผัก
เบต้า-แคโรทีนที่ร่างกายนำไปสร้างวิตามินเอ เพื่อสายตาดี เสียไปร้อยละ 5-10
เมื่อลวกผักไม่เกิน 3 นาที นอกจากสารอาหารที่กล่าวถึงแล้ว กากใยอาหารในผักกระเฉดยังช่วยให้ระบบการส่งออกของเสียสะดวก
|
|
|
|
 |
|
ผักบุ้ง
ผักบุ้งมีสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลินที่ช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือดสำหรับคนเป็นเบาหวานได้
และผักบุ้งเป็นผักที่มีฤทธิ์เย็นจึงช่วยบรรเทาอาการร้อนในได้ แต่อย่าผัดน้ำมัน
เพราะเวลาร้อนใน เขาจะให้เลี่ยงอาหารมัน ให้เป็นผักบุ้งลวก หรือกินสดดีกว่า
แต่ถ้าจะให้เห็นผลทันตา ให้เอาน้ำผักบุ้งผสมเกลือ อมไว้ในปากสัก 2 นาที แล้วบ้วนทิ้ง
ทำวันละ 2 ครั้ง ก็จะเห็นผล
|
|
|
|
 |
|
พริก
พริกเผ็ดอย่างดุเดือด
เผ็ดไม่เหมือนผักไหน คนไทยขาดพริกไม่ได้ ทีนี้ความเผ็ดกำลังระบือไกล เพราะพริกเผ็ด
เพราะแคปไซซินซึ่งเป็นตัวจับสารก่อมะเร็ง ไม่ให้ไปจับเซลล์ดี ๆ ในตัวเรา
ความเผ็ดร้อนจึงไม่เผ็ดร้าย แต่เผ็ดดี...นอกเหนือจากการกันมะเร็งแล้ว พริกช่วยให้เลือดลมไหลเวียน
ช่วยไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มขวางทางเดินเลือด พริกแห้งป่นหรือพริกสดทำหน้าที่
รปภ. ของร่างกายได้เสมอกัน
|
|
|
|
 |
|
หน่อไม้ฝรั่ง
บางคนว่าเคี้ยวหน่อไม้ฝรั่ง
เหมือนเคี้ยวเนื้อไก่ เพราะความแน่นนุ่มของหน่อที่เกิดจากต้น
แอสพารากัสที่เดินทางมาจากต่างแดน มาเอาใจแฟน ๆ หมู่คนกินผัก แฟนผักชายทั้งหลาย
วิตามินที่แอสพารากัสมี ช่วยทำให้สเปิร์มของท่านแข็งแรงและช่วยต้านมะเร็งได้ด้วย
เมื่ออร่อยกับหน่อไม้ฝรั่ง อย่าทิ้งหน่อนี้ให้ร้อนมาก ร้อนนาน เพราะวิตามินซีที่ดีต่อเปิร์มนั้นโดนร้อนก็หายไป
|
|
|
|
 |
|
มะเขือเครือ
(ฟักแม้ว)
มะเขือเครือเป็นผักพื้นบ้านของชุมชนบนที่สูงภาคเหนือ
ชาวเขานิยมปลูกไว้กิน เพราะเนื้อกรอบ หวาน อร่อยเมื่อกินเป็นผลไม้สด ๆ หรือจะเอาไปต้มยำ
ทำแกง ผัด หรือปิ้งเป็นอาหารก็ทำได้หลายรูปแบบ ยังไม่ได้วิเคราะห์ส่วนประกอบทางโภชนาการ
แต่คะเนได้ว่าสีเขียวอย่างนี้ เป็นผักตระกูลแตงอย่างนี้ ต้องเย็นด้วยน้ำในเนื้อผล
และเชื่อว่ามีแร่ธาตุ วิตามิน พอพึ่งได้
|
|
|
|
 |
|
กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเป็นผักที่นิยมมากในญี่ปุ่น
และควรนิยม เพราะได้อาหารผักที่รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ ช่วยบำรุงสมอง
และยังมีวิตามินและเกลือแร่ประกอบอีกหลายชนิด แถมบรรเทาอาการปวดท้องในคนที่เป็นเยื่อบุกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ
และยังช่วยขับไล่พยาธิตัวจี๊ดที่อาจลอบเข้าสู่ร่างกายทางอาหารเนื้อต่าง ๆ
กินกระเจี๊ยบ ยำ ย่าง และอีกมากมายสลับผักสีเขียวเข้มอื่น ๆ เพื่อใคร เพื่อตัวเรา
และคนที่เรารัก
|
|
|
|
 |
|
กระชาย
กระชายเป็นผักที่อยู่เคียงข้างกับแกง
ผัด หลายชนิด เราชอบกลิ่นหอมของกระชาย และไม่เพียงจมูกของเราที่ชอบกระชาย
แต่กระเพาะกับลำไส้ของเราก็ชอบกระชายด้วย เพราะได้กระชายท้องไส้เราจะครึกครื้น
ขยับเขยื้อนคึกคัก ท้องจึงไม่อืด ลมระบาย ไม่จุก ไม่แน่น กินกระชายในกับข้าวไทย
ๆ วันนี้ คิดถึงประโยชน์ที่ช่วยในการย่อยอาหารไป กินอย่างเป็นสุข
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น